ดูบทความการออกแบบจัดวางชุดครัว

การออกแบบจัดวางชุดครัว

กิจกรรมหลักในครัว เริ่มตั่งแต่ การเตรียมอาหาร ล้างผัก หั่นหมู เตรียมเครื่องปรุง การปรุงอาหาร ผัด ทอด ต้ม การล้างภาชนะ ฯลฯ ฉะนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ตำแหน่งอ่าง เตา ตู้เย็น ต่อมาก็คือพื้นที่หน้าท๊อปในการวางเขียง วางภาชนะ เครื่องปรุงต่างๆ และพื้นที่เก็บภาชนะภายในตู้
การจัดวางตำแหน่งอ่าง เตา ตู้เย็น จะสัมพันธ์กับตำแหน่งท่อน้ำ ปล่องดูดควัน ปลั๊กไฟ และตำแหน่งของหน้าต่างด้วย

ตัวอย่างการจัดวางรูปแบบต่างๆ

จัดวางชุดครัวชุดตัวไอ 1. การจัดแบบชิดผนังด้านหนึ่งเป็นแบบตัวไอ ( One-wall Kitchen ) เป็นการจัดผังให้ชิดผนังด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว เหมาะสำหรับห้องที่แคบและยาว
จัดวางชุดครับแบบคู่ขนาน 2. การจัดแบบชิดผนังสองด้านหรือแบบคู่ขนาน ( Corridor Kitchen ) เป็นการจัดผังสองด้านตรงกันข้ามกัน พื้นที่ใช้สอยระหว่างสองด้านควรกว้าง 90 -120 ซม. เพื่อให้มีพี้นที่พอกับการเปิดบานตู้ ( หากทำครัวคนเดียวอาจเหลือ 76 ซม.ได้)
จัดวางชุดครัวรูปตัวแอล 3. การจัดแบบตัวแอล ( L-Shaped Kitchen)เป็นผังที่นิยมสำหรับพื้นที่ที่มีผนังสองด้านชนกันเป็นมุมฉาก เหมาะกับห้องเล็กจนถึงห้องใหญ่ เนื่องจากมีระบบการทำงานที่ต่อเนื่อง สามารถทำงานได้พร้อมๆกัน 2 คน คือ คนหนึ่งเตรียมอาหาร อีกคนปรุงอาหาร
จัดวางชุดครัวรูปตัวยู 4. การจัดแบบตัวยู ( U-shaped Kitchen ) เป็นผังที่นิยมเช่นกัน ลักษณะเหมือนการจัดแบบตัวแอล แต่เพิ่มพื้นที่ขึ้นอีกด้านหนึ่ง พื้นที่ใช้สอยค่อนข้างกว้างขวางกว่าแบบอื่นๆ
จัดวางชุดครัวแบบisland 5. การจัดแบบมีพื้นที่ใช้สอยตรงกลางหรือเกาะลอย ( Island Layout ) เหมาะกับห้องขนาดใหญ่ ปกติเกาะลอยนี้มักเป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นจากผังแบบตัวแอลและตัวยู โดยเกาะที่เพิ่มเข้ามานั้นอาจใช้เป็นที่เตรียมอาหาร, อ่างล้าง ,เตา หรือโต๊ะอาหารก็ได้

 

07 มกราคม 2560

ผู้ชม 3709 ครั้ง